วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

อนุรักษ์ช้าง





ลักษณะทั่วไปของช้าง


ช้างเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ที่เหลืออยู่เพียงชนิดเดียวในโลก และเหลือสายพันธุ์อันสำคัญอยู่เพียง 2 สายพันธุ์เท่านั้น ในทางวิชาการสามารถอธิบายรายละเอียดของช้างไว้ดังนี้
ช้าง (Elephants)
      Order : Procoscidea
      Family : Elephantidea
      Genus : Elephas
      Spicies : Maximus

ใน Family นี้มีช้างสองชนิดคือ ช้างแอฟริกา (African Elephant) และช้างเอเชีย (Asian Elephant)
1. ลักษณะทั่วไปของช้างแอฟริกา


ช้างแอฟริกา (African Elephant) ชื่อวิทยาศาสตร์ Loxodonta Africana พบในทวีป แอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
ถิ่นที่อยู่อาศัย : ทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง
ขนาด (โดยเฉลี่ยของตัวผู้) : ความยาวจากหัวถึงหาง 6 – 7.5 เมตร สูง 3.3 เมตร น้ำหนัก 6 ตัน
อายุ (โดยเฉลี่ย) : 60 ปี

ลักษณะ : ลำตัวใหญ่กว่าช้างเอเชีย มีงายาวทั้งในตัวผู้และตัวเมีย หูมีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชีย หลังเว้าลง หน้าผากมีโหนกเดียว เท้าหน้ามีเล็บ 4 เล็บ เท้าหลังมี 3 เล็บ ปลายงวงมีจะงอยบนและจะงอยล่าง ทำหน้าที่คล้ายมือช่วยจับสิ่งของได้

2. ลักษณะทั่วไปของช้างเอเชีย


ช้างเอเชีย (Asian Elephant) ชื่อวิทยาศาสตร์ Elephas maximus
พบในอินเดียและบริเวณประเทศใกล้เคียงอินเดีย อินโดจีน ตอนใต้ของจีน มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
ถิ่นที่อยู่อาศัย : ป่าทึบและป่าโปร่ง
ขนาด : วัดจากหัวถึงหาง 5.5 – 6.4 เมตร สูง 2.5 – 3 เมตร น้ำหนัก 5 ตัน
อายุ 60 ปี

ลักษณะ
: ขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา มีงายาวเฉพาะตัวผู้ ตัวเมียมีวาแต่สั้นมาก โผล่แค่ริมฝีปาก หูมีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา หลังโค้งขึ้น หน้าผากมีสองโหนก เท้าหน้ามีเล็บห้าเล็บ เท้าหลังมีสี่เล็บ ปลายงวงมีจะงอยบน 1 อันใช้เป็นมือหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ

ช้างเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยิ่งมีอายุมากร่างกายก็จะใหญ่ขึ้น และงาก็ยิ่งยาวออกตามขนาดตัวไปด้วย ช้างเป็นสัตว์ที่ไม่เคยหยุดเจริญเติบโต จนกระทั่งตาย
ฟันช้างจะเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกันมีโรงสร้างที่เหมาะสมกับการบดอาหารหยาบ เช่น เปลือกไม้ กิ่งไม้ ผลไม้เปลือกแข็ง งาช้างคือฟันบนส่วนหน้าของช้างที่เปลี่ยนแปลงไปและยื่นยาวออกมา

ส่วนบนของปากและจมูกวิวัฒนาการมาเป็นงวง ใช้หายใจ พ่นฝุ่นดิน ดูดน้ำเพื่อดื่มและใช้เป็นมือหยิบจับของและเหนี่ยวหักกิ่งไม้ งวงเป็นจมูกที่มีความไวต่อกลิ่นมาก นอกจากนั้นยังช่วยให้ช้างร้องเสียงดังด้วย

ใบหูที่มีขนาดใหญ่จะเต็มไปด้วยเส้นเลือด หูจะโบกพัดตลอดเวลาเพื่อระบายความร้อนภายในร่างกายสู่ภายนอก นอกจากช้างจะตาดี จมูกไวแล้ว หูช้างยังไวต่อการได้ยิน ช้างจะใช้เสียงความถี่ต่ำมากในการสื่อสารกัน และถึงแม้จะอยู่ห่างกันถึง 1 กิโลเมตร ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ส่วนเท้าของช้างมีความนิ่มเป็นพิเศษ เพราะห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อและไขมัน



ช้างไม่มีระบบกระเพาะเคี้ยวเอื้อง อาหารที่ช้างกินจะมีแบคทีเรียในลำไส้ช่วยย่อย ช้างกินอาหารจุใช้เวลาส่วนใหญ่ (ประมาณวันละ 18 ชั่วโมง) หาอาหารกิน โดยเฉลี่ยช้างจะกินอาหารประมาณ 200 กิโลกรัมต่อวัน น้ำมีความสำคัญต่อช้างมาก นอกจากจะใช้ชำระร่างกายแล้วช้างต้องดื่มน้ำวันละ 200 ลิตร

อาหารของช้าง  ช้างเป็นสัตว์ที่ไม่กินเนื้อเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ชอบกินต้นไม้ใบหญ้า อาหารที่มีสีเขียวจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายช้าง มากกว่าอาหารที่มีสีเหลือง ซึ่งย่อยยากและทำให้ท้องผูก ซึ่งอาหารที่ช้างชอบกิน เช่น ไผ่ ยอดไม้ กล้วย ขนุน ข้าวโพด อ้อย แตงโม เป็นต้น

ช้างเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูงที่เรียกว่าโขลง มีความสัมพันธ์กัน แบ่งหน้าที่ระมัดระวังความปลอดภัย ช่วยกันดูแลลูกช้าง ช้างที่มีอายุมากและมีความรู้ มีประสบการณ์ใช้ชีวิตในป่ามากจะสอนช้างรุ่นใหม่ให้รู้วิธีการดำรงชีวิตในป่า

ช้างโขลงหนึ่ง มีตั้งแต่ 10 – 20 ช้าง หรือ 30 – 50 ช้าง คล้าย ๆ กับคนที่ต้องอาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ช้างตัวเมียที่อาวุโสที่สุดจะเป็นผู้นำโขลง ในโขลงช้างจะประกอบด้วยช้างตัวเมียและลูกช้างเป็นส่วนมาก เมื่อช้างตัวผู้โตเต็มที่จะแยกตัวจากโขลงไป

ช้างเริ่มมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 12 ปี แต่ปกติแล้ว ช้างจะโตเต็มที่และแข็งแรงที่สุดเมื่อมีอายุ 25 ปี ขึ้นไปจนถึง 45 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงที่ช้างตัวเมียอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์  โดยช้างจะใช้เวลาตั้งท้องนาน 21 – 22 เดือน ช้างจะออกลูกครั้งละ 1 ตัว เมื่อออกลูกแล้วต้องรอเวลาอีก 3 – 4 ปี จึงมีโอกาสตั้งท้องอีก โดยเฉลี่ยแม่ช้างจะมีลูกได้เพียง 4 ครั้ง ช้างเอเชีย จัด เป็นสัตว์ชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในทุกแหล่งกระจายพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้ ซึ่งได้แก่ ประเทศในทวีปเอเชีย 13 ประเทศ คือ อินเดีย บังคลาเทศ ภูฐาน เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

1 ความคิดเห็น:

อนุรักษ์ช้างไทย กล่าวว่า...

ช้าง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

"ช้าง" เปลี่ยนทางมาที่นี่ บทความนี้เกี่ยวกับสัตว์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ช้าง (แก้ความกำกวม)

AD-thai.svg

บทความนี้ใช้ระบบปีคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงถึงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ช้างแอฟริกา

ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล[1] ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน[2] ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 82 ปี[3] ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี ค.ศ. 1956 ซึ่งมีน้ำหนักถึง 11,000 กิโลกรัม[4] ความสูงวัดถึงไหล่ 3.96 เมตร สูงกว่าช้างแอฟริกาเพศผู้ทั่วไปถึงหนึ่งเมตร[5] ส่วนช้างที่มีขนาดเล็กที่สุดนั้น มีขนาดประมาณเท่ากับลูกวัวหรือหมูตัวใหญ่ ๆ เป็นสปีชีส์ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งเคยอาศัยอยู่บนเกาะครีตระหว่างสมัยไพลสโตซีน[6] จากการสังเกตการณ์ ช้างเพศผู้ที่มีสุขภาพดีนั้นไม่มีนักล่าตามธรรมชาติ[7] ถึงแม้ว่าสิงโตจะล่าลูกช้างหรือช้างที่อ่อนแอบ้าง[8][9] อย่างไรก็ตาม ช้างถูกคุกคามโดยการบุกรุกที่อยู่อาศัยของมนุษย์และการล่า

ช้างเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาในวัฒนธรรมเอเชียและมีกิตติศัพท์ว่ามีความจำ และความฉลาดที่ดี โดยระดับสติปัญญาของมันนั้นคาดกันว่าจะเท่ากับของโลมา[10][11][12][13] หรือไพรเมต[14][15] เลยทีเดียว อริสโตเติล เคยกล่าวไว้ว่า ช้างเป็น "สัตว์ซึ่งเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวงทั้งในด้านไหวพริบและจิตใจ"[16]
เนื้อหา
[ซ่อน]

* 1 อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ
o 1.1 ช้างแอฟริกา
o 1.2 ช้างเอเชีย
* 2 ลักษณะทางกายภาพ
o 2.1 งวง
o 2.2 งา
o 2.3 ฟัน
o 2.4 ผิวหนัง
o 2.5 ขาและเท้า
o 2.6 หู
* 3 ชีววิทยาและพฤติกรรม
o 3.1 วิวัฒนาการ
o 3.2 พฤติกรรมทางสังคม
o 3.3 การจับคู่
o 3.4 สติปัญญา
o 3.5 ประสาทสัมผัส
o 3.6 การตระหนักรู้ในตัวเอง
o 3.7 การสื่อสาร
o 3.8 อาหาร
o 3.9 การนอนหลับ
o 3.10 ความก้าวร้าว
* 4 ภัยคุกคาม
o 4.1 การล่า
o 4.2 การสูญเสียถิ่นที่อยู่
o 4.3 อุทยานแห่งชาติ
o 4.4 ปุ๋ย
* 5 มนุษย์กับช้าง
o 5.1 การเลี้ยงและใช้งาน
o 5.2 การสงคราม
o 5.3 สวนสัตว์และละครสัตว์
o 5.4 ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
* 6 ลูกผสม
* 7 อ้างอิง
* 8 ดูเพิ่ม